ตู้เย็นเก็บยา รุ่น MDC-145

ตู้เย็นเก็บยา ที่ใช้ในหน่วยงานโรงพยาบาล

ตู้เย็นเก็บยา เป็นตู้แช่เวชภัณฑ์ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิ ระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียส โดยที่สามารถตั้งค่าการควบคุมความเย็นได้ มีค่าResolution(ความละเอียดการอ่านข้อมูล) ไม่น้อยกว่า 0.1 องศาเซลเซียสเป็น ตู้แช่ยา ที่เหมาะสำหรับใช้ในเก็บรักษาเวชภัณฑ์ยา วัคซีนต่าง ๆที่ควบคุมความเย็นให้คงที่

ถ้าหากวัคซีนหรือยาที่ต้องการความเย็นในการเก็บรักษา ไม่อยู่ในสภาวะแวดล้อมเหมาะสม อาจเกิดจากการที่ ตู้แช่ยา ตู้เย็นเก็บยา ชำรุดหรือกระแสไฟฟ้าผิดปกติ ก็ส่งผลให้วัคซีนหรือยาเสื่อมคุณภาพได้

ตู้เย็นเก็บวัคซีน ทางการแพทย์รุ่น MDC-145 พร้อมสัญญาณเตือนอุณหภูมิอัตโนมัติ

  1. ผ่านการตรวจสอบอุณหภูมิ ตู้แช่ยา ทุกชั้นอยู่ในช่วง 2-8°C
  2. ผ่านการสอบเทียบ Sensor Probe เพื่อความถูกต้องในการควบคุมอุณหภูมิ ตู้เย็นเก็บวัคซีน พร้อมเอกสาร Certificate ISO 17025 รองรับมาตรฐาน
  • Healthcare Accreditation (HA)
  • Laboratory Accreditation (LA)
  • Joint Commission International (JCI)
  • ISO 15189 / ISO15190
  • World Health Organization (WHO)

3. Alarm Sensor มีระบบสัญญาณเสียงเตือน เมื่ออุณหภูมิ ตู้แช่ยา ออกนอกช่วงที่กำหนด 2-8°C

4. มีระบบติดตามอุณหภูมิ Temperature Datalogger บันทึกและแสดงข้อมูลอัตโนมัติเพื่อตรวจสอบอุณหภูมิของ ตู้เย็นเก็บวัคซีน

5. ตู้แช่ยา สำหรับใช้ในการเก็บรักษายา วัคซีน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในหน่วยงานทางการแพทย์

ุ6. มีระบบบคุมการทำงานของ ตู้แช่ยา สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ และสามารถปรับแต่งอุณหภูมิได้อย่างน้อยครั้งละ  0.1 องศา และมีอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากป้องกันชุดควบคุมอุณหภูมิ(Surge Protector)

7. มีระบบหน่วงไฟ(delay)และระบบป้องกันไฟตก-ไฟเกิน(under/over voltage protector 195 – 245 V) ช่วยป้องกันความเสียหายของระบบทำความเย็นของ ตู้เย็นเก็บวัคซีน

8. มีระบบบันทึกอุณหภูมิและความชื้นต่อเนื่องอัตโนมัติ (Datalogger) Datalogger เป็นอุปกรณ์วัดและบันทึกอุณหภูมิและความชื้นต่อเนื่องอัตโนมัติภายใน ตู้แช่ยา เพื่อบันทึกติดตามอุณหภูมิได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีคุณสมบัติ สามารถวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ -40 ถึง 80 องศาเซลเซียส Accuracy ±0.3 (ที่อุณหภูมิห้อง 25 องศาเซลเซียส)

9. ความละเอียดในการวัด  (Resolution)    0.1°C Accuracy  ความชื้น Accuracy  ±2%RH(ที่อุณหภูมิห้อง 25 องศาเซลเซียส)ภายใน ตู้เย็นเก็บวัคซีน ความละเอียดในการวัด (Resolution) 0.1%RH ความจุ 21,000 ข้อมูล รายงานผลได้ทั้งแบบตารางข้อมูลและกราฟผ่านคอมพิวเตอร์และใช้แบตเตอรี่แบบ AAA จำนวน 2 ก้อนเพื่อง่ายต่อการบำรุงรักษาเครื่องภายหลังการใช้งาน

 

เมื่อไฟดับทำอย่างไรไม่ให้ ตู้แช่ยา เสื่อมคุณภาพ

กรณีที่เก็บยาไว้ใน ตู้แช่ยา หากไฟฟ้าดับเป็นเวลานาน อาจทำให้ยาเสื่อมสภาพได้ โดยเฉพาะยาที่ต้องแช่ในอุณหภูมิที่เย็นจัดหรือแช่ในช่องแช่แข็ง เพราะหลังจากที่ยาละลายแล้วจะไม่สามารถนำกลับไปแช่ได้อีก แล้วแบบนี้จะทำอย่างไรดี หากปล่อยไว้นานๆ ยาต้องเสื่อมคุณภาพเป็นแน่ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะเรามีคำแนะนำมาบอกกันแล้วดังนี้

กรณีไฟดับ คาดว่าไม่เกิน 1 ชั่วโมง

หากไฟฟ้าดับและคาดว่าไม่เกิน 1 ชั่วโมงไฟจะติด ให้แก้ไขด้วยการนำยาออกมาแช่ใน ตู้แช่ยา ตู้อื่นก่อน แต่หากไม่มีตู้แช่สำรองที่จะใช้แช่ยาได้ ก็ให้นำ ice pack ออกมาวางไว้ตรงช่องกลางของตู้แช่แล้วปิดประตู ตู้เย็นเก็บยา ให้สนิทโดยห้ามเปิด ตู้แช่ยา อีกเด็ดขาด จนกว่าไฟจะติด

กรณีไฟดับ คาดว่าไม่เกิน 3 ชั่วโมง

เมื่อไฟฟ้าดับแต่คาดว่าไม่น่าเกิน 3 ชั่วโมงไฟจะติด ให้นำยาไปใส่ไว้ในกล่องเก็บความเย็นที่มี  ice pack วางอยู่ในกล่องทั้ง 6 ด้าน จากนั้นห่อยาด้วยกระดาษสำหรับห่อโดยเฉพาะ และวางไว้ตรงกลางของกล่องอย่าให้สัมผัสโดน ice pack จะช่วยเก็บยาไม่ให้เสื่อมสภาพระหว่างรอไฟติดได้ดี ส่วนกรณีที่เป็นยาวัคซีน ให้วางเทอร์โมมิเตอร์ไว้ตรงกลางกล่องแล้วปิดฝาให้สนิท จากนั้นประมาณ 10 นาทีให้มาตรวจสอบอุณหภูมิ หากอุณหภูมิสูงเกินให้ใส่ ice pack เข้าไปอีก

กรณีไฟดับ คาดว่านานกว่า 3 ชั่วโมง

กรณีที่ไฟดับและคาดว่าน่าจะนานเกินกว่า 3 ชั่วโมง ควรติดต่อประสานงานเพื่อโยกย้ายตัวยาไปแช่ที่อื่นก่อน เพราะหากรอนานเกิน 3 ชั่วโมง ยาจะเสื่อมคุณภาพได้และไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก โดยระหว่างขนส่งยาไปแช่ที่อื่นนั้น จะต้องเก็บยาไว้ในกล่องเก็บความเย็นอย่างดี พร้อมกับใส่เจลแช่เย็นไว้ในกล่องอย่างน้อย 6 อัน เพื่อควบคุมระดับความเย็นให้เหมาะสมที่สุด และที่สำคัญก่อนจะนำ ice pack มาใส่ในกล่อง ก็จะต้องวางไว้ในอุณหภูมิห้องให้เป็นเหงื่อก่อนด้วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดี และช่วยควบคุมความเย็นได้นานที่สุด

ไฟดับเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึง และไม่ทันได้ตั้งตัว แต่เมื่อเกิดปัญหาไฟดับจนตู้แช่ยาไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว ก็ควรรีบทำการแก้ไขในทันที โดยอาจสอบถามไปทางไฟฟ้าว่าไฟจะดับนานเท่าไหร่ และรีบดำเนินการแก้ไขตามที่แนะนำไปข้างต้น ซึ่งวิธีนี้สามารถใช้ได้กับกรณีที่ตู้แช่ยาเสียได้ด้วย แต่หากมี ตู้เย็นเก็บยา สำรองที่ใช้งานได้ปกติ ก็ให้โยกย้ายยาไปแช่ในตู้สำรองแทนก่อน